วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563


อาจารย์ให้ทำอาหารแต่หนูไม่ได้ไปเรียนเพราะไม่สบายค่ะ 

ขออนุญาติใช้รูปภาพเพื่อนนะคะ


 

 บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563


    อาจารย์ให้ส่งแผนผังความคิด เรื่องเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์




  

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2563

  าจารย์ให้นักศึกษาดูคลิปวิดิโอ อ่านสร้างสุข โดยเทคนิคการอ่านหนังสือให้เด็กๆ ฟัง ต้องใช้เทคนิคอะไรบ้าง แล้วอาจารย์ก็ได้มอบหมายงาน


1. ให้นักศึกษาไปค้นคว้าหานิทานที่ห้องสมุดเพื่อนำมาทำสื่อเพื่อพัฒนาลูกรัก

ในการทำนั้นต้องมีประเด็น ตั้งสมมติฐาน ดำเนินการปฏิบัติ


    
อาจารย์ให้นักศึกษาทำแผนผังความคิด เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์




   บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 

วันที่ 27 ตุลาคม 2563


นื้อหาการเรียนครั้งที่ 9

            อาจารย์สนทนาก่อนเข้าบทเรียนและให้จัดกลุ่มละ 4-5 คน แล้วให้นักศึกษาทำกิจกรรม

กิจกรรมที่ 1

    วาดจุดเด่นของแหล่งน้ำแต่ละแห่งโดยที่ไม่บอกชื่อของแหล่งน้ำ จากนั้นให้นักศึกษาทายชื่อแหล่งน้ำของแต่ละกลุ่ม



กิจกรรมที่ 2

    นำหลอด 25 อัน และเทปใส 1 ม้วนมาสร้างเป็นสไตล์เดอร์ จากนั้นนำดินน้ำมันมากลิ้งแล้วกลุ่มไหนใช้เวลาในการกลิ้งนานที่สุด



กิจกรรมที่ 3

    นำกระดาษมาพับครึ่งสองทบแล้วตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้โดยให้นักศึกษาออกแบบเอง



วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที 8

วันที่ 6 ตุลาคม 2563


สรุปจากคลิปวีดีโอที่ดู    

   -อากาศสามรถอยู่ได้ทุกที่

   -อากาศจะผ่านไปไม่ได้เพราะดันน้ำมันดันอากาศไว้ ทำให้รู้ว่ามีอากาศอยู่รอบๆตัวเรา

   -อากาศไม่มีรูปร่างแต่มีน้ำหนักขึ้นอยู่กับความร้อนความเย็นลูกโปร่ง

   -บอลลูนถ้าอยากให้สูงให้เร็วมากเท่าไหร่จะต้องทำให้ความร้อนมีมาก

   -อากาศร้อน = เบา 

   -อากาศเย็น = หนัก

   -ฟองสบู่ขึ้นแล้วตกลงมาเพราะตอนเป่าออกจากตัวจะร้อนแต่พออากาศเย็นลงฟองสบู่จะตก

   -ลมพัดได้เพราะ บนพื้นโลกลมพักผ้่นตลอดเพราะลมพัดมาไม่เท่ากัน

    -กระป๋องนมเจูาะ2ฝั่ง เพื่อให้อากาศดันน้ำออก

   -อากาศร้อนแรงดันจะต่ำกว่าอากาศเย็น

   -อากาศเคลื่อนที่แรงดันน้อยกว่าอยู่กับที่

 

ครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1


EAED2102 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคารที่ 4 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563
เวลา 08:30-12:30

เนื้อหาที่เรียน
        เป็นวันแรกของการทำการเรียนการสอนในรายวิชา อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาของวิชาและสิ่งที่ต้องเรียนรู้ในวิชานี้ ทำข้อตกลงในการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาในเรื่องการแต่งกาย เวลาในการเข้าเรียนและได้มอบหมายงานให้แก่นักศึกษา
                           1.สร้างบล็อก โดยมีองค์ประกอบดังนี้
                              - ชื่อและคำอธิบายบล็อก
                              - รูปและข้อมูลผู้เรียน
                              - ปฏิทินและนาฬิกา
                              - เชื่อมโยง บล็อกอาจารย์ผู้สอน , หน่วยงานสนับสนุน , แนวการสอน , งานวิจัยทาง                                  วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ , บทความ , สื่อ ( เพลง , เกม , นิทาน , แบบฝึกหัด ,                                  ของเล่น ) 
                           2.เขียนศัพท์ภาษาอังกฤษสัปดาห์ละ 5 คำ    
                           3.จับกลุ่ม 3-5 คน ถ่ายรูปแล้วลงใน กระดาน padlet 

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 7

วันที่ 22 กันยายน 2563

 

    อาจารย์ให้กระดาษเขียนความสำคัญของวิทยาศาสตร์ในความคิดของเราว่ามีความสำคัญอย่างไร

    ดิฉันได้เขียนว่า วิทยาศาสตร์สำคัญมากในการดำรงชีวิตของมนุษย์ จะมีวิทยาศาสตร์รอบตัวอยู่ 
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จะทำให้เกิดการพัฒนาวิธีคิด คิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะ ในการค้นคว้าความรู้ มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ วิทยาศาสตร์ทำให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับ ธรรมชาติและเทคโนโลยี

        คุณสมบัติหรือทักษะที่สำคัญ คือ 3R ละ 8C  
3R คือ Reading - อ่านออก
          ( W )Riting - เขียนได้
          ( A )Rithmatic - มีทักษะในการคำนวณ
8C คือ Critical Thinking and Problem Solving  : มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ไขปัญหาได้ 
           Creativity and Innovation : คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม
           Collaboration Teamwork and Leadership : ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
           Communication Information and Media Literac
y : ทักษะในการสื่อสาร และการรู้เท่าทันสื่อ
           Cross-cultural Understanding : ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
           Computing and ICT Literacy : ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี 
           Career and Learning Skills : ทักษะทางอาชีพ และการเรียนรู้
           Compassion : มีคุณธรรม มีเมตตา กรุณา มีระเบียบวินัย ซึ่งเป็นคุณลักษณะพื้นฐานสำคัญของทักษะขั้นต้นทั้งหมด และเป็นคุณลักษณะที่เด็กไทยจำเป็นต้องมี

      ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

- การดำรงชีวิตประจำวันและในงานอาชีพต่างๆ

- การอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันและการทำงาน

- คนได้พัฒนาความคิดเป็นเหตุเป็นผล และคิดสร้างสรรค์

- นำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล

- ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ 



 บันทึกครั้งที่ 6 

วันที่ 15 กันยายน 2563

    - การวัดสัดส่วนโดยการพับกระดาษเอสี่ 1 แผ่นได้รับประสบการณ์ เช่น ขนาด การกะขนาด

    - สร้างสรรค์ชิ้นงานคณิตศาสตร์บูรณาการกับศิลปะ เช่น การปะติด การแปะฉีก

    - ควรทำสื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก และต้องตั้งเกณฑ์การจัดประสบการณ์ให้ชัดเจน

    - การบวกเลขควรจัดอยู่ในใาตรฐานสุดท้าย จะใช้สัญญาลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เด็กต้องผ่านขั้นอนุรักษ์ 

    - การเขียนแผนคือการออกแบบชิ้นงาน

    - การนำชิ้นงานของเด็กมาใช้ต่อยอด เช่น ให้เด็กเอางานของจนเองออกมาแปะหน้าห้องเพื่อแสดงถึงจำนวนที่เด็กมาโรงเรียนในวันนี้ และควบคู่ไปกับการให้เด็กนับใบงานของเพื่อนๆและของตนเองพร้อมกันเพื่อฝึกฝนให้เด็กได้รู้จักการนับและการจดจำจำนวนไปด้วย วิธีการให้เด็กนับไปพร้อมๆกันคือต้องจัดวางจำนวนกระดาษแต่ละแถวเท่ากันให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น การวางกระดาษแถวละ 5 แผ่น จะทำให้นับง่ายกว่าเดิม (ฐาน 5 ฐาน 10) เป็นการบูรณาการผ่านชีวิตประจำวัน

    - การแยกหมวดหมู่ + การนับจำนวน สามารถทำร่วมกันได้ เช่น การกำหนดหมวดหมู่และนำสื่อกลางโยมีเกณฑ์กำหนด เช่น ใช้เกณฑ์การมาเรียน 8: 30 นาฬิกา และหลัง 8 : 30 นาฬิกา

    - ยังไม่ต้องสอนลบด้วยสัญญาลักษณ์แต่จะลบด้วยจำนวนให้ลดลง

    - ขนาดและพื้นที่กะประมาณด้วยสายตาต้องสอนให้เด็กหาค่าความสัมพันธ์ของสิ่งของ เช่น หาความสัมพันธ์ของขนาดตะกร้ากับจำนวนไข่ในตะกร้าว่ามีกี่ฟ้อง

    ***** ทริค ***** หยิบของ วางของ ควรหยิบจับจากซ้ายมาขวา

    - หาจำนวนมากกว่าน้อยกว่าโดยการนับ 1 ต่อ 1 

    - การเปรียบเทียบจะมีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่ม 1.มากที่สุด 2.มาก 3.น้อยที่สุด

    - การเปรียบเทียบสิ่งของ จุดเริ่มต้นต้องเท่ากัน (สูง ยาว)

    - ปฏิทินสามารถนำมาบูรณาการคณิตศาสตร์ได้เยอะ เช่น การบอกวันที่ การนับวัน (จำนวน)

    

เพลง 1 ปี

1 ปีนั้นมี 12 เดือน

อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น

อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์

 บันทึกครั้งที่ 5

วันที่ 1 กันยายน 2563 

       วันนี่้ได้ทำกิจกรรมการวัดหาค่าสิ่งของรอบตัวโดยใช้เครื่องมือที่ไม่ใช่มาตรฐาน โดยวันนี้อาจารย์ให้โปรดกลุ่มพวกเราวัดความยาวของหน้าต่างทั้ง 8 บาน เราใชข้วิธีการต่อแขน ได้ความยาวสทั้งหมด 5 ช่วงแขน


    จังหวะเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ เช่น การนับก้าวเดิน เป็นต้น

    จำนวนสองจำนวนมีค่าเท่ากัน หรือน้อยกว่า มากกว่า เมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน


    

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

 บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4

วันที่ 25 สิงหาคม 2563

         รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย

    คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 มีดังนี้

-เด็กอายุ 3 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กจะสามารถสำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนและต่างกันได้ สามารถบอกชื่อตนเองได้ และเมื่อมีปัญหาจะสามรถขอความช่วยเหลือได้ สามารถสนทนาโต้ตอบด้วยประโยคที่สั้นๆ 


-เด็กอายุ 4 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญา สามรถจำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 บอกชื่อจริงนามสกุลตนเองได้ มีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ สนทนาโต้ตอบเป็นเรื่องราวได้


-เด็กอายุ 5 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญา สามารถบอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่างได้ บอกชื่อ-นามสกุล อายุของตัวเองได้ พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง สนทนาโต้ตอบเป็นเรื่องราวได้


***คุณลักษณะตามวัยที่กำหนดในหลักสูตร อ้างอิงมาจากพัฒนาการของเด็ก***

    - เด็กอายุ 1-2 ปี ใช้ประสามสัมผัสทั้ง 5 มาก จะเรียกว่าอยู่ในช่วงใช้ประสามสัมผัส โดยที่ประสามสัมผัสทั้ง 5 จะส่งไปยังสมอง และสมองจะซึมซับทำให้เกิดเป็นความเคยชินหรือสิ่งที่เคยทำไปแล้ว

    - เด็กอายุ 2-4 ปี จะตอบตามที่ตาเห็นยังไม่มีเหตุผลในการตอบ โดยจะจัดประสบการณ์ให้เห็นเป็นภาพหรือใช้สิ่งที่เป็นจริงมาจัดประสบการณ์ (รูปธรรม)

    - เด็กอายุ4-7 ปี จะเริ่มพัฒนาเหตุผลได้มากขึ้น จะตอบตามเหตุผลโดยไม่อิงจากสิ่งที่เห็น ช่วงวัยนี้จัดเป็นขั้นอนุรักษ์ การจัดประสบการณ์จะใช้เป็นสัญลักษณ์แทนการใช้ภาพจริง (นามธรรม)


***การเปลี่ยนแปลงที่เป็นลำดับขั้นตอนจะต้องอาศัยอายุ ช่วงวัย โดยจะต้องสัมพันธ์กับสมอง***

***ธรรมชาติของเด็ก หรือความเป็นไปของเด็ก คือ พัฒนาการตามช่วงวัย***


สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์

สาระที่ 1 จำนวนใช้บอกจำนวนต่างๆ

สาระนี้ไม่ใช่เพียงแค่จะสอนการบวก ลบ เลข แต่จะสอนเช่น สัญลักษ์ที่ใช้แสดงจำนวน การเปรียบเทียบ เรียงลำดับจากน้อย-มาก การรวมตัวเลขทั้งสองกลุ่ม การแยกจำนวนสิ่งต่างๆออกจากกลุ่ม

เทคนิคการสอนในสาระนี้ 

*การเรียงลำดับจากน้อย-มากให้เริ่มเรียงจากซ้ายไปขวา เพราะเด็กจะอ่านหนังสือจากซ้ายไปขวา
แต่หากครูต้องการจะวางของให้เด็กดู ให้วางจากขวามือครูไปซ้ายมือครู*

*หากต้องการตั้งเกรณฑ์ในการจัดประสบการ์ให้ตั้งเกรณฑ์เพียงแค่เกรณฑ์เดียวเท่านั้น*

*สามารถใช้เพลงนำมาร้องประกอบการจัดประสบการณืได้ เช่น เพลงแม่ไก่ออกไข่*


วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

 บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3

วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เด็กปฐมวัย VS วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์

    พัฒนาการของเด็ก = ความสามารถที่เด็กทำได้ในแต่ละช่วงอายุ และเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากในแต่ละขั้นการพัฒนามีการเปลี่ยนแปลงที่แย่ลงในขั้นต่อไปก็จะเกิดผลกระทบตามมา 

    การจัดประสบการณ์วิทย์-คณิตสำหรับเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องใช้การเล่นเป็นสื่อกลาง เช่น การจัดกิจกกรมในรูปแบบการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ทั้งในทางอิสระและในทางที่ครูจัดให้โดยจะต้องเน้นให้เด็กเกิดความสุข ความสนุก เพลิดเพลิน เลือกิจกรรมที่สอดคล้องกับช่วงอายุ และพัฒนาการของเด็ก ใช้วิธีการที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เช่น เรื่องใกล้ตัวและสิ่งที่เด็กสามารถจะมองเห็นได้ (รูปธรรม)