วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 7

วันที่ 22 กันยายน 2563

 

    อาจารย์ให้กระดาษเขียนความสำคัญของวิทยาศาสตร์ในความคิดของเราว่ามีความสำคัญอย่างไร

    ดิฉันได้เขียนว่า วิทยาศาสตร์สำคัญมากในการดำรงชีวิตของมนุษย์ จะมีวิทยาศาสตร์รอบตัวอยู่ 
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จะทำให้เกิดการพัฒนาวิธีคิด คิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะ ในการค้นคว้าความรู้ มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ วิทยาศาสตร์ทำให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับ ธรรมชาติและเทคโนโลยี

        คุณสมบัติหรือทักษะที่สำคัญ คือ 3R ละ 8C  
3R คือ Reading - อ่านออก
          ( W )Riting - เขียนได้
          ( A )Rithmatic - มีทักษะในการคำนวณ
8C คือ Critical Thinking and Problem Solving  : มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ไขปัญหาได้ 
           Creativity and Innovation : คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม
           Collaboration Teamwork and Leadership : ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
           Communication Information and Media Literac
y : ทักษะในการสื่อสาร และการรู้เท่าทันสื่อ
           Cross-cultural Understanding : ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
           Computing and ICT Literacy : ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี 
           Career and Learning Skills : ทักษะทางอาชีพ และการเรียนรู้
           Compassion : มีคุณธรรม มีเมตตา กรุณา มีระเบียบวินัย ซึ่งเป็นคุณลักษณะพื้นฐานสำคัญของทักษะขั้นต้นทั้งหมด และเป็นคุณลักษณะที่เด็กไทยจำเป็นต้องมี

      ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

- การดำรงชีวิตประจำวันและในงานอาชีพต่างๆ

- การอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันและการทำงาน

- คนได้พัฒนาความคิดเป็นเหตุเป็นผล และคิดสร้างสรรค์

- นำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล

- ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ 



 บันทึกครั้งที่ 6 

วันที่ 15 กันยายน 2563

    - การวัดสัดส่วนโดยการพับกระดาษเอสี่ 1 แผ่นได้รับประสบการณ์ เช่น ขนาด การกะขนาด

    - สร้างสรรค์ชิ้นงานคณิตศาสตร์บูรณาการกับศิลปะ เช่น การปะติด การแปะฉีก

    - ควรทำสื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก และต้องตั้งเกณฑ์การจัดประสบการณ์ให้ชัดเจน

    - การบวกเลขควรจัดอยู่ในใาตรฐานสุดท้าย จะใช้สัญญาลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เด็กต้องผ่านขั้นอนุรักษ์ 

    - การเขียนแผนคือการออกแบบชิ้นงาน

    - การนำชิ้นงานของเด็กมาใช้ต่อยอด เช่น ให้เด็กเอางานของจนเองออกมาแปะหน้าห้องเพื่อแสดงถึงจำนวนที่เด็กมาโรงเรียนในวันนี้ และควบคู่ไปกับการให้เด็กนับใบงานของเพื่อนๆและของตนเองพร้อมกันเพื่อฝึกฝนให้เด็กได้รู้จักการนับและการจดจำจำนวนไปด้วย วิธีการให้เด็กนับไปพร้อมๆกันคือต้องจัดวางจำนวนกระดาษแต่ละแถวเท่ากันให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น การวางกระดาษแถวละ 5 แผ่น จะทำให้นับง่ายกว่าเดิม (ฐาน 5 ฐาน 10) เป็นการบูรณาการผ่านชีวิตประจำวัน

    - การแยกหมวดหมู่ + การนับจำนวน สามารถทำร่วมกันได้ เช่น การกำหนดหมวดหมู่และนำสื่อกลางโยมีเกณฑ์กำหนด เช่น ใช้เกณฑ์การมาเรียน 8: 30 นาฬิกา และหลัง 8 : 30 นาฬิกา

    - ยังไม่ต้องสอนลบด้วยสัญญาลักษณ์แต่จะลบด้วยจำนวนให้ลดลง

    - ขนาดและพื้นที่กะประมาณด้วยสายตาต้องสอนให้เด็กหาค่าความสัมพันธ์ของสิ่งของ เช่น หาความสัมพันธ์ของขนาดตะกร้ากับจำนวนไข่ในตะกร้าว่ามีกี่ฟ้อง

    ***** ทริค ***** หยิบของ วางของ ควรหยิบจับจากซ้ายมาขวา

    - หาจำนวนมากกว่าน้อยกว่าโดยการนับ 1 ต่อ 1 

    - การเปรียบเทียบจะมีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่ม 1.มากที่สุด 2.มาก 3.น้อยที่สุด

    - การเปรียบเทียบสิ่งของ จุดเริ่มต้นต้องเท่ากัน (สูง ยาว)

    - ปฏิทินสามารถนำมาบูรณาการคณิตศาสตร์ได้เยอะ เช่น การบอกวันที่ การนับวัน (จำนวน)

    

เพลง 1 ปี

1 ปีนั้นมี 12 เดือน

อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น

อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์

 บันทึกครั้งที่ 5

วันที่ 1 กันยายน 2563 

       วันนี่้ได้ทำกิจกรรมการวัดหาค่าสิ่งของรอบตัวโดยใช้เครื่องมือที่ไม่ใช่มาตรฐาน โดยวันนี้อาจารย์ให้โปรดกลุ่มพวกเราวัดความยาวของหน้าต่างทั้ง 8 บาน เราใชข้วิธีการต่อแขน ได้ความยาวสทั้งหมด 5 ช่วงแขน


    จังหวะเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ เช่น การนับก้าวเดิน เป็นต้น

    จำนวนสองจำนวนมีค่าเท่ากัน หรือน้อยกว่า มากกว่า เมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน